ป้ายความปลอดภัย (Safety Sign)

ป้ายความปลอดภัย (Safety Sign) คือป้ายที่ใช้สัญลักษณ์ภาพและข้อความที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อแจ้งเตือน ห้าม หรือเป็นข้อบังคับ ให้บุคลากรและบุคคลที่อยู่ภายในบริเวณนั้น ได้รับทราบการสื่อสารที่ตรงกัน เช่น พื้นที่อันตรายห้ามเข้า และหมายความว่าพื้นที่นั้นต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม โรงงาน ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในการช่วยสร้างมาตรฐานให้กับโรงงานของเรา


ป้ายความปลอดภัย มีกี่ประเภท ?
สำหรับป้ายความปลอดภัยมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งข้อความ,รูปภาพ,รูปทรง ขนาด สี และเครื่องหมายเสริมของป้ายความปลอดภัยจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของป้าย แต่ต้องเป็นมาตรฐานสากล ที่ทำให้ผู้พบเห็นสามารถทราบความหมายของป้ายได้ทันทีที่พบเห็น

ป้ายเครื่องหมายห้าม (Prohibition sign) :
ติดตั้งเพื่อแจ้งข้อห้ามต่างๆ ให้แก่ผู้พบเห็น โดยตัวแผ่นป้ายจะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมสะท้อนแสง หุ้มด้วยสติกเกอร์สีขาว สัญลักษณ์คือวงกลมคาดด้วยเส้นสีแดง มีสัญลักษณ์ภาพที่เป็นสากลที่เข้าใจได้ทันที หรือตัวอักษรที่ชัดเจน เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามถ่ายรูป ห้ามจอดรถ ห้ามทิ้งขยะ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับข้อบังคับและกฎของสถานที่

นิยมใช้ติดภายในและภายนอกอาคาร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า สถานที่ส่วนบุคคล ลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล เป็นต้น

ป้ายเครื่องหมายป้องกันอัคคีภัย (Fire Protection Equipment Sign) :
ติดตั้งเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย วัสดุป้ายตัวแผ่นจะเป็นอะลูมิเนียม แล้วติดทับด้วยสติกเกอร์สีแดงงที่ทนต่อความร้อน มองเห็นได้ชัดเจน ใช้สัญลักษณ์ภาพสากลเพื่อความเข้าใจในทันที เช่น ป้ายถังดับเพลิง ป้ายปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉิน ฯลฯ

นิยมใช้ติดไว้ในอาคารต่างๆ เช่น คอนโด หอพัก โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล สถานบันเทิง โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

ป้ายเครื่องหมายบังคับ (Mandatory Sign) :
ติดตั้งเพื่อบังคับสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล ตัวแผ่นป้ายผลิตจากวัสดุอะลูมิเนียม ใช้สัญลักษณ์ภาพสากลเฉกเช่นป้ายอื่นๆ ตัวอักษรจะเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เช่น ป้ายสวมหมวกนิรภัย ป้ายสวมหน้ากากกันสารพิษ เป็นต้น เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ก่อสร้าง ฯลฯ

ป้ายเครื่องหมายเตือน (Warning Sign) :
ติดตั้งเพื่อแจ้งเตือน ระวังภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในสถานที่นั้นๆ โดยตัวแผ่นป้ายด้านหน้าและขอบเป็นสีเหลือง ภายในเป็นกรอบสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม พร้อมสัญลักษณ์ภาพสากลสีดำ นิยมติดตั้งบริเวณท้องถนน เขตก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ป้ายระวังไฟฟ้าแรงสูง ป้ายเตือนทางแยก ป้ายเตือนคนข้ามถนน ป้ายเตือนสิ่งกีดขวาง ฯลฯ

ป้ายห้องปฏิบัติการ หรือป้ายห้องแล็ป (Lab Sign) :
ติดตั้งเพื่อแจ้งข้อปฏิบัติ และข้อบังคับต่างๆ แก่ผู้พบเห็นที่มีการเข้า-ออกในห้องปฏิบัติการ หน้าป้ายจะแบ่งเป็นส่วนของรูปสัญลักษณ์สากล และข้อความเช่น ป้ายสารเคมี ป้ายวัตถุไวไฟ ป้ายกัมมันตรังสี เป็นต้น ช่วยให้ข้อปฏิบัติในห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็ป เข้มงวด และปลอดภัยตามมาตรฐานมากขึ้น

ป้ายขนส่งสารเคมีในอุตสาหกรรม (Hazardous Material Shipping Sign) :
ใช้ติดบนยานพาหนะเพื่อแสดงให้ทราบถึงการบรรทุกสารเคมีอันตรายระหว่างการขนส่ง เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนระมัดระวังมากขึ้น จำเป็นต้องติดแถบสะท้อนแสงเพื่อการมองเห็นชัดเจน และมีสัญลักษณ์ภาพที่เข้าใจง่าย พร้อมทั้งตัวอักษร เช่น ป้ายวัตถุไวไฟ ป้ายสารพิษ ป้ายสารอันตรายอื่นๆ เป็นต้น

ป้ายงานก่อสร้าง (Construction Sign) :
ติดตั้งบริเวณพื้นที่งานก่อสร้างเพื่อแจ้งให้ผู้สัญจร และพนักงานได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ป้ายก่อสร้างจะมีพื้นหลังสีเหลืองหรือสีส้ม มีสัญลักษณ์เครื่องหมายสากล และตัวอักษร เส้นขอบเป็นสีดำตัวอย่างป้ายงานก่อสร้าง

เช่น ป้ายงานก่อสร้างข้างหน้า ป้ายเขตก่อสร้าง ป้ายเครื่องจักรกำลังทำงาน เป็นต้น ใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่กำลังมีการดำเนินงานก่อสร้างเช่น สร้างอาคาร ก่อสร้างถนน ก่อสร้างสะพาน ฯลฯ


ทั้งนี้ป้ายความปลอดภัยควรติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม มองเห็นได้ชัดเจน มีอุปกรณ์ไฟส่องสะท้อนแสงที่ป้าย สถานที่ที่นิยมติดตั้งป้ายความปลอดภัย หรือป้ายเตือน คือหน่วยงานราชการ ท้องถนน ทางหลวง สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล พื้นที่ก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงที่สาธารณะ เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุและสร้างความปลอดภัยให้กับบุคคล ทรัพย์สิน และสถานที่

อีกหนึ่งป้ายที่ช่วยสร้างความปลอดภัยที่ทุกอาคารควรมีคือ ป้ายฉุกเฉิน ช่วยแสดงทิศทางหรือแนวทางการปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินต่างๆ เช่น ไฟไหม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้พบเห็น หรืออยู่บริเวณนั้นกลับสู่สถานการณ์ที่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ป้ายทางหนีไฟฉุกเฉิน ที่นิยมติดไว้บริเวณเพดานบริเวณทางเดิน

โดยทั่วไปป้ายฉุกเฉิน นิยมทำจากวัสดุอะลูมิเนียม หรืออะคริลิคติดสติกเกอร์ ที่มีกล่องแบตเตอรี่ในตัว ทำให้ป้ายสว่างอัตโนมัติ แม้เกิดไฟดับ เห็นได้ทั่วไปแทบจะทุกอาคารอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า คอนโด หอพัก สำนักงาน โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น

ความหมายของสีเพื่อความปลอดภัย

สีแดง/ขาว : มีความหมายถึงการ “หยุด” และป้ายสำหรับการป้องกันอัคคีภัย เช่นป้ายห้าม อย่างเครื่องหมายหยุด ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต ป้ายถังดับเพลิง ฯลฯ

สีเหลือง/ดำ : มีความหมายถึงการ “ระวังอันตราย” เช่นป้ายเขตอันตราย เครื่องหมายเตือนต่างๆ

สีฟ้า/ขาว : มีความหมายถึงการ “บังคับปฏิบัติ” เช่นป้ายการสวมเครื่องป้องกันในเขตก่อสร้าง

สีเขียว/ขาว : มีความหมายถึง “ความปลอดภัย” เช่นป้ายทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน เป็นต้น

ป้ายความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะของป้ายความปลอดภัยที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
1. บังคับใช้รูปแบบ ลักษณะและสีที่ใช้ แบ่งเป็น 4 ประเภท (ตามภาพประกอบ)
2. สัญลักษณ์ภาพต้องเป็นสากล บริเวณกลางป้ายความปลอดภัยและ ไม่ทับแถบขวางสำหรับเครื่องหมายห้าม สามารถดูสีและเครื่องหมายความปลอดภัย รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม มอก.635 เล่ม 1

นอกจากเนื้อหาการติดป้ายสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยข้างต้นซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานแล้ว ยังควรต้องดูไปถึงวัสดุที่ใช้ผลิตป้ายความปลอดภัย หรือป้ายเซฟตี้ ให้เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้งอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกอาคาร เพื่อไม่ให้อายุการใช้งานสั้นลง หรือซีดจางจนไม่สามารถแสดงข้อความเตือนไปยังผู้รับสาร อาจจะทำให้เกิดความเสียหาย และอุบัติเหตุได้ในอนาคต

Digiview&More ออกแบบ ผลิต ติดตั้ง ป้ายทุกประเภท สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ทั่วประเทศ มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำเรื่องการออกแบบป้ายให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ พร้อมทีมงานผลิตและติดตั้งมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์มากกว่า15 ปี การันตีผลงาน

ครบทุกโซลูชั่นการตลาดแบบ Out of home หรือสื่อนอกบ้าน ปรึกษางบประมาณ และการติดตั้งกับเราได้ที่
E-mail : contact@digiviewandmore.co.th
Line id : @digiview